รูปหมวดสินค้า

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โครงการเครื่องปั่นไฟเครื่องแรก : เพื่อสาธารณประโยชน์


การขอเข้าร่วมโครงการ 
 1.ผู้ที่มีสิทธิ์ขอรับการบริจาค : ต้องเป็นผู้ที่นำของบริจาคไปใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะเท่านั้น ห้ามใช้เพื่อหาผลประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น
 2.ไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการ ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการเครื่องปั่นไฟเครื่องแรก สามารถส่งโครงการการขอรับบริจาคโดยเขียนบรรยายมาให้ชัดเจนว่าต้องการนำไปใช้อะไร ใช้ที่ไหน ใครได้ประโยชน์ และจะดูแลรักษาของรับบริจาคอย่างไร แล้วส่ง email มาที่ puvakorn@seapowergent.com หรือโทร. 084-001-5859 , 087-691-8333 ได้ตลอด 24ชม.

หลักเกณฑ์การคัดเลือก
 1.ทางบริษัทขอสงวนสิทธฺิ์ในการพิจารณาผู้ที่ได้รับการบริจาคแต่เพียงผู้เดียว โดยพิจารณาผ่านทางคณะกรรมการที่บริษัทแต่งตั้ง
 2.หลักเกณฑ์พิจารณา จะพิจารณาจากวัดถุประสงค์และความจำเป็นในการใช้งานเป็นหลัก ตามที่คณะกรรมการเป็นผู้กำหนด
 3.การประกาศผล จะประกาศผลการพิจารณาให้รู้ทั่วกันผ่านทาง Website : www.seapowergent.com ทุกวันที่ 1 ของเดือน

เจตจำนงค์ : บจก. เอส.อี.เอ. พาวเวอร์ เจ็นท์ (S.E.A. Power Gent Co., Ltd) ต้องการจะมีส่วนช่วยเหลือสังคม โดยการแบ่งส่วนของกำไรที่ได้จากการดำเนินธุรกิจ มาใช้ในโครงการเครื่องปั่นไฟเครื่องแรก เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสังคมไทยให้ยั่งยืนตลอดไป

วัตถุประสงค์ : โครงการเครื่องปั่นไฟเครื่องแรกมีขึ้นเพื่อบริจาค(ให้ฟรี!!!) เครื่องปั่นไฟ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และแผงพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับใช้ในสาธารณประโยชน์เช่นวัด โรงเรียน โรงพยาบาล หน่วยราชการ องค์การบริหารต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ(ประเทศในกลุ่ม AEC) โดยเฉพาะในพื้นที่ทุรกันดารที่การไฟฟ้าเข้าไม่ถึง

เครื่องปั่นไฟเครื่องแรก โครงการเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ฟรี เครื่องปั่นไฟเครื่องแรก

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การผลิตกระแสไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ (Biogas,Syngas)


เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ (Biogas,Syngas)
ก๊าซชีวภาพ (BIOGAS) ถือได้ว่าเป็นเชื้อเพลิงสะอาด (CLEAN FUEL) ไม่มีการปลดปล่อยก๊าซที่ได้จากการเผาไหม้ (ZERO EMISSION) ในขณะที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม และมีอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการเกษตรมากมาย มีวัตถุดิบที่สามารถนำมาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพได้ เช่น เศษพืชจากไร่นาและสวน เศษเหลือจากฟาร์มปศุสัตว์ รวมถึงมูลสัตว์ น้ำเสียและกากจากโรงงานแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร

เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ

     หากได้มีการพิจารณานำเศษต่างๆดังกล่าวมาพัฒนาเป็นก๊าซชีวภาพ ก็สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 1,000 เมกะวัตต์ (MW) ซึ่งเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ เป็นเทคโนโลยีที่ไม่ยุ่งยาก สามารถดำเนินการได้ในระดับชุมชน เป็นการเพิ่มรายได้ให้ชุมชนอีกทางหนึ่ง เพราะผลพลอยได้ที่ได้จากกระบวนการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุเหล่านี้อาจมีมูลค่ามากกว่าไฟฟ้าคือปุ๋ยอินทรีย์ และผลที่ได้รับที่มีมูลค่ามหาศาลคือการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จากการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ได้จากการย่อยสลายของของเสียเหล่านี้เช่นกัน



วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กังหันลมกับการผลิตไฟฟ้า


กังหันลม Wind Turbine พลังงานทดแทน
หลักการทำงานของกังหันลมผลิตไฟฟ้านั้น เมื่อมีลมพัดผ่านใบกังหัน พลังงานจลน์ที่เกิดจากลมจะ ทำให้ใบพัดของกังหันเกิดการหมุน และได้เป็นพลังงานกลออกมา พลังงานกลจากแกนหมุนของกังหันลมจะถูกเปลี่ยนรูปไปเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เชื่อมต่ออยู่กับแกนหมุนของกังหันลม จ่ายกระแสไฟฟ้าผ่านระบบควบคุมไฟฟ้า และจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบต่อไป โดยปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้จะขึ้นอยู่กับความเร็วของลม ความยาวของใบพัด และสถานที่ติดตั้งกังหันลม

การติดตั้งกังหันลมไฟฟ้าการประกอบกังหันลมสำหรับไฟฟ้าการติดตั้งกังหันลมแนวแกนตั้ง (Vertical Axis Wind Turbine)

กังหันลมกับการใช้งาน
เนื่องจากความไม่สม่ำเสมอของความเร็วลมที่แปรผันตามธรรมชาติ และความต้องการพลังงานที่สม่ำเสมอเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานแล้ว จะต้องมีตัวกักเก็บพลังงานและใช้แหล่งพลังงานอื่นที่เชื่อถือได้เป็นแหล่งสำรอง หรือใช้ร่วมกับแหล่งพลังงานอื่น

ตัวกักเก็บพลังงานมีอยู่หลายชนิด ส่วนมากขึ้นอยู่กับงานที่จะใช้เช่น ถ้าเป็นกังหันเพื่อผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมักนิยมใช้แบตเตอรี่เป็นตัวกักเก็บพลังงาน

การใช้แหล่งพลังงานอื่นที่เป็นตัวหมุน ระบบนี้ปกติกังหันลมจะทำหน้าที่จ่ายพลังงานให้ตลอดเวลาที่มีความเร็วลมเพียงพอ หากความเร็วลมต่ำหรือลมสงบ แหล่งพลังงานชนิดอื่นจะทำหน้าที่จ่ายพลังงานทดแทน (ระบบนี้กังหันลมจ่ายพลังงานเป็นตัวหลักและแหล่งพลังงานส่วนอื่นเป็นแหล่งสำรอง )

การใช้ร่วมกับแหล่งพลังงานอื่น อาจเป็นเครื่องจักรดีเซล หรือพลังงานน้ำจากเขื่อน ฯลฯ ระบบนี้ปกติจะมีแหล่งพลังงานชนิดอื่นจ่ายพลังงานอยู่ก่อนแล้ว กังหันลมจะช่วยจ่ายพลังงานเมื่อมีความเร็วลมเพียงพอ ซึ่งในขณะเดียวกันก็จะลดการจ่ายพลังงานจากแหล่งพลังงานอื่น เช่น ลดการใช้น้ำมันดีเซลของเครื่องยนต์ดีเซล (ระบบนี้ แหล่งพลังงานอื่นจ่ายพลังงานเป็นหลัก ส่วนกังหันลมทำหน้าที่คอยเสริมพลังงานจากต้นพลังงานหลัก)